ภาคใต้ วัฒนธรรม

     ความหมายของวัฒนธรรม

คำว่า “วัฒนธรรม ” มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า “ Culture ” คำนี้มีรากศัพท์มาจาก “ Cultura ” ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง (อานนท์ อาภาภิรม, 2519: 99) ซึ่งอธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม ในด้านภาษาศาสตร์ “วัฒนธรรม” เป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่

- วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง
- ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ

ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมตามความหมายนี้จึงหมายถึง ความเป็นระเบียบ การมีวินัย เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลหนึ่งว่า เป็นคนมีวัฒนธรรม ก็มักจะหมายความว่า เป็นที่มีระเบียบวินัย เป็นต้น

ในด้านสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมมีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น

ในด้านนิติศาสตร์แบบไทย พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2483 (บรรจง สกุลชาติ. 2526: 56) กล่าวไว้ดังนี้
“วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” ความหมายนี้ ทางราชการและวงการทั่วไปยังคงใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการไทยบางท่านได้ให้ความหมายวัฒนธรรมคล้าย ๆ กัน เช่น

พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า “ วัฒนธรรม คือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่นรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้” (พระยาอนุมานราชธน. ม.ป.ป. : 6)

อุทัย หิรัญโต กล่าวว่า “วัฒนธรรมคือ มรดกทางสังคมที่ได้ตกทอดมาเป็นสมบัติของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน และนำมาใช้ในการครองชีวิตเป็นแบบแผนแห่งการครองชีวิต (Design of Living) หมายความว่า วัฒนธรรมเป็นแบบฉบับบที่ทำการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ไปว่าจะต้องทำอย่างไร และทำอย่างไร คิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร อะไรดี อะไรชั่ว วัฒนธรรมมิได้หมายความถึงการเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติงานได้เหมาะสม หือความเป็นผู้มีจิตใจสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างและรับมาปฏิบัติสืบต่อมา”

ยุทธ ศักดิ์เดชยันต์ ได้กล่าวว่า “วัฒนธรรม รวมถึงความคิด และแบบแผนพฤติกรรมทุกอย่างที่ตกทอดสืบต่อกันมาโดยทางการสื่อสารหรือส่งสัญลักษณ์ ไม่ตกทอดโดยกรรมพันธุ์ เราเรียนรู้ วัฒนธรรมโดยอาศัยคำพูด ท่าทาง เช่น การที่นกรู้สร้างรังได้นั้นเป็นการตกทอดทางกรรมพันธุ์ แต่การที่มนุษย์รู้จักสร้างบ้านพันที่อยู่อาศัยนั้นเป็นถ่ายทอดทางวัฒนธรรม”

จากความหมายของวัฒนธรรมทั้งในด้านทั่ว ๆ ไป ด้านภาษาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ และนักวิชาการบางท่านได้กล่าวไว้ อาจหลอมรวมเข้าด้วยกันและสรุปได้คือ
วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมของกลุ่มดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสงระเบียบ กฎเกณฑ์วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการจัดระเบียบ ตลอดจนระบบความ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยได้วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน

ที่มาของวัฒนธรรม

    เป็นที่ทราบกันแล้วว่า วัฒนธรรมมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์ไม่มีวัฒนธรรมเหมือนมนุษย์ หรือสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาไม่ได้ แต่มีมนุษย์มีวัฒนธรรม หรือสร้างวัฒนธรรมได้นั้น สาเหตุมาจากเปรียบเทียบกับสัตว์ ในการมองสิ่งต่าง ๆ มีความสามารถใช้มือและนิ้วอย่างอิสระ มีอายุยืนยาว มีมันสมองที่สามารถคิดค้นเรียนรู้ได้ดี และสามารถ่ายทอดโดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน มีความสามารถในการคิดพิจารณาไตร่ตรอง มีความจำ มีการทดลองค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือการอยู่ร่วมกันได้ดี สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ 

แนวคิดเรื่องที่มาของวัฒนธรรมนี้ ได้มีผู้รู้ให้แนวคิดแตกแยกออกไปหลายทางด้วยกัน แต่มีแนวความคิดที่สำคัญอยู่ 2 ทางด้วยกัน คือ

  1. ทฤษฎี Parallelism ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า วัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์คล้ายันมาก ฉะนั้นจึงมีความคิดที่คล้ายกัน มนุษย์ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ย่อมสามารถก่อสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาได้ จะเห็นได้จากการประดิษฐ์สิ่งของอย่างเดียวกันในสถานที่ต่างกัน จะแตกต่างกันเฉพาะในรูปลักษณะของการประดิษฐ์สิ่งนั้น ๆ เช่น ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำก็มักจะสร้างเรือเป็นพาหนะในชีวิตประจำวันของตน รูปร่างของเรืออาจจะแตกต่างกัน แต่ประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน 
  2. ทฤษฎี Diffusionism ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าวัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว และแพร่กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปหรือแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยจากการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ หรือเกิดสถาบันใหม่ โดยที่สถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ห่างไกลได้นำวัฒนธรรมนั้นไปดัดแปลงใช้จนกระทั่ววัฒนธรรมนั้นแพร่หลายครอบคลุมไปทั่วโลก กลไกลของการแพร่กระจายวัฒนธรรมนี้ได้แก่ การอพยพล่าอาณานิคม การทำสงคราม การเผแพร่ศาสนา การติดต่อการค้าขาย เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะแพร่หลาย แต่ก็มิได้ราบรื่นโดยตลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ชุมชนอยู่ห่างไกลเกินไป ประชาชนเกิดการต่อต้านวัฒนธรรมใหม่ เพราะยังมิเห็นถึงประโยชน์ หรือ อาจจะต่อต้านเพราะเห็นว่าวัฒนธรรมที่มีอยู่มีคุณค่ามีประโยชน์แล้ว หรือรู้สึกว่าขัดกับลักษณะของวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามา เช่น ในกรณีสังคมไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากสังคมตะวันตกในเรื่องการดื่มน้ำชา กาแฟ แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่คนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบทยังนิยมกินหมากหรืออมเมี่ยงอยู่ เพราะแต่ละชุมชนเคยชินกับวัฒนธรรมของตนและเห็นว่ามีคุณค่าเหมือนกัน และใช้แทนกันได้อยู่แล้ว


วัฒนธรรมภาคใต้


   ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม




     ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษาโดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก

ประเพณีชักพระ ประกอบด้วยขบวนเรือที่ตกแต่งอย่างงดงาม บน เรือที่มีพระพุทธรูปประทับอยู่บนบุษบกเรียกว่า "เรือประทาน หรือเรือ พนมพระ" ที่หัวเรือมีสายเชือกยาวผูกสำหรับลาก เรือพนมพระนิยม ทำเป็นตัวนาค และบนเรือยังมีพระสงฆ์นั่งมาด้วยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า มืด โดยมีการจัดทำสลากและนิมนต์พระวัดต่างๆ มาชักผ้าป่าที่หน้า บ้านที่สลากระบุ หลังจากถวายพุ่มผ้าป่าแล้ว พระผู้ใหญ่ที่ได้รับการ เคารพนับถือจะทำพิธีชักพระ ด้วยการจับปลายเชือกที่อยู่หัวเรือ จาก นั้นก็จะปล่อยให้เรือของชาวบ้านเข้าลากจูง ด้วยเชื่อว่าจะได้บุญมาก เรือจะถูกชักลากไปช้าๆ ตลอดเส้นทาง พร้อมกับการตีกลองประโคม เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าเรือพนมพระกำลังผ่านมา ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำ จะออกมาตักบาตรเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" เมื่อเรือจอดยังที่ที่กำหนดไว้แล้ว จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประ ดิษฐานบนโรงพิธีสงฆ์ เพื่อทำการสมโภชในวันรุ่งขึ้น วันสุดท้ายจะทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นเรือกลับสู่ วัด หลังเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็มีงานรื่นเริงของชาวบ้าน คือ "การแข่งเรือยาว" ประเพณีชักพระที่มีชื่อ เสียง คือ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีแม่น้ำตาปีให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่อดีต

เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะอาราธนาพระพุทธรูป ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้ง หมดขึ้นนั่งประจำเรือ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตาม และ ประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่งฉาบ แล้ว ชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วย ต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำ ก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบก ก็จะใช้คนเดินลาก แล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไป ใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียง ไปชุมนุมในที่เดียว กันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสาม เณรได้ทั่วทุกวัด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย
เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่างๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัว สวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดีมี การแข่งขันตี โพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลงลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และ บางทีก็มีกิจกรรมแปลกๆ เช่น กีฬาซัดต้ม การประกวดเรือพระ สมัยก่อนมักให้รางวัล เป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กา น้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็น เงินสด

สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (วัดบ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กา โผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอ หนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะ นะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมาย ปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชม ตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำ เภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาว ไทยพุทธ ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชายตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามู สู่ บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่ กิ่งไพศาล ริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือ พระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้ว มีการแข่งขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประ เพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่ง ต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือ เพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้ รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ"ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็น จตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ 


  


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

   อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดด เด่นเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์
กลางการเดิน เรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีตทำให้วัฒน ธรรมของชาวต่างชาติโดย เฉพาะอินเดียใต้ซึ่งเป็นต้นตำรับใน การใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก 
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซียอาหาร ของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเล อุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัดช่วยให้ร่าง กายอบอุ่นป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

การกิน ลักษณะเด่นของการรับประทานอาหารของชาวภาคใต้ คือ มีผักสารพัดชนิดเป็นผักจิ้มหรือผักแกล้มในการรับประทาน อาหารทุกมื้อ ภาษาท้องถิ่น เรียกว่า "ผักเหนาะ" ความนิยมใน การรับประทานผักแกล้มอาหารของชาวใต้ เป็นผลมาจากการที่ ภาคใต้มีพืชผักชนิดต่างๆ มาก และหาได้ง่าย คนใต้นิยมรับประ ทานอาหารเผ็ด จึงต้องมีผักแกล้ม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด และเพื่อชูรสอาหาร อาหารท้องถิ่นยังนิยมใส่ขมิ้นในอาหาร นิยมรับประทาน "ขนมจีน" รองจากข้าว ใส่เคยหรือกะปิเป็น เครื่องปรุงรสอาหาร ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานน้ำบูดู ซึ่ง เป็นน้ำที่หมักจากปลา แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆ หวานๆ นับเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวไทยมุสลิม

อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรส ชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำ ส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น

เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ด ร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลาย อย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลาย อย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้


http://culture-spu.blogspot.com/p/blog-page_1052.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น