ประเพณีท้องถิ่น

ประเพณีท้องถิ่น

     คำว่า "ท้องถิ่น" หมายถึง พื้นที่และขอบเขตที่ชุมชน หมู่บ้าน เมือง มีการปะทะสรรค์กันทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนปรากฏรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และแตกต่างกันไปจากชุมชน หมู่บ้าน และเมือง ในท้องถิ่นอื่น ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

ภาคใต้

          เป็นเขตวัฒนธรรมที่ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ซึ่งมีลักษณะของพื้นที่เป็นคาบสมุทร มีที่ราบไม่มากนัก มีแนวเขาสูงวางตัวในแนวเหนือจดใต้เป็นแกนของคาบสมุทร และมีพื้นที่ติดชายทะเลทั้งสองฝั่ง แม่น้ำส่วนใหญ่จะเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงสู่ทะเลทั้งสองฝั่ง มีฝนตกชุกทั้งปี มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ตำแหน่งที่ตั้งของภาคใต้อยู่ในจุดที่มีความรุ่งเรืองมาแต่อดีตนับแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย และตามพรลิงค์ เนื่องจากเป็นอดีตหัวเมืองการค้าทางฝั่งทะเล ทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลายกลุ่มชนเข้าด้วยกันทั้งกลุ่มพ่อค้าจากอินเดีย อาหรับ จีน และคนในท้องถิ่น ทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำประมง และทำเหมืองแร่

                                                       ประเพณีเเห่นก

                                      


     
วามสำคัญของประเพณีการแห่นก

               ประเพณีการแห่นก เป็นประเพณีการทางพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่นราธิวาส ซึ่งได้มีการกระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์ แต่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในศิลปะและอาจจัดขึ้นในการแสดงความคารวะ แสดงความจงรักภักดี แก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุนัต หรือที่เรียกว่า "มาโซยาวี" หรือจัดขึ้นเพื่อประกวดเป็นครั้งคราว นกที่นิยมทำขึ้นเพื่อการแห่มีเพียง ๔ ตัว คือ
๑. นกกาเฆาะซูรอหรือ นกกากะสุระ นกชนิดนี้ตามสันนิษฐานคือ "นกการเวก" เป็นนกสวรรค์ที่สวยงามและบินสูงเทียมเมฆการประดิษฐ์มักจะตบแต่งให้มีหงอนสูงแตกออกเป็น ๔ แฉก นกชนิดนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "นกทูนพลู" เพราะบนหัวมีลักษณะคล้ายบายศรีพลู และมีการทำให้แปลกจากนกธรรมดา เพราะเป็นนกสวรรค์
๒. นกกรุดา หรือ นกครุฑ มีลักษณะคล้ายกับครุฑ เชื่อกันว่านกชนิดนี้มีอาถรรพ์ ผู้ทำมักเกิดอาเพศ มักเจ็บไข้ได้ป่วย ในปัจจุบันจึงไม่นิยมจัดทำนกชนิดนี้ ในขบวรแห่
๓. นกบือเฆาะมาศ หรือนกยูงทอง มีลักษณะคล้ายกับนกกาเฆาะวูรอ มีหงอน สวยงามเป็นพิเศษ ชาวไทยมุสลิมยกย่องนกยูงทองมาก และไม่ยอมบริโภคเนื้อ เพราะเป็นนกที่รักขน การประดิษฐ์ตกแต่งรูปนกพญายูงทองนั้น จึงมีการตกแต่งที่ประณีตถี่ถ้วนใช้เวลามาก
๔. นกบุหรงซีงอ หรือนกสิงห์ มีรูปร่างคล้ายราชสีห์ ตามคตินกนี้มีหัวเป็นนก แต่ตัวเป็นราชสีห์ ปากมีเขี้ยวงาน่าเกรงขาม

ช่วงเวลาในการจัดประเพณีการแห่นก
ในการแห่นกนั้นได้มีการจัดขึ้น ในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง หรือในโอกาสการต้อนรับแขกเมืองของชาวนราธิวาส และยังจัดในพิธีการเข้าสุหยัด

พิธีกรรมในการแห่นก
ประเพณีการแห่นกนั้น สันนิษฐานว่า จะมีพิธีกรรมบางอย่าง เช่น การตั้งพิธีสวดมนต์ตามวิธีการทางไสยศาสตร์ เพื่อขับไล่หรือขจัดปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย ให้หมดสิ้นไปให้มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า

สาระของประเพณีการแห่นก
ประเพณีการแห่นกนั้นนอกจากที่ให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้คติ ความเชื่อ ความรัก ความสามัคคี และความเชื่อในการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ร่วมพิธีในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ และเป็นการอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่นกยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไป

ประเพณีตับาตรธูปเทียน

                                       
                                    

                                    

            ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียนมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนแปด เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา ใช้ลานภายในวัดเป็นสถานที่ตักบาตรธูปเทียน

ความสำคัญ
เป็นการทำบุญด้วยธูปเทียนและดอกไม้ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้นำธูปเทียนใช้บูชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษา ๓ เดือน

พิธีกรรม
วันประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียน เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มพิธีเข้าพรรษา พิธีการตักบาตรธูปเทียนจึงเริ่มในตอนบ่าย โดยพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ต่างพากันมายืนเรียงแถวในบริเวณลานวัด โดยมีย่ามคล้องแขนทุกรูป เพื่อเตรียมบิณฑบาต เมื่อถึงเวลาบ่ายประมาณ ๑๖ นาฬิกา พุทธศาสนิกชนจะนำธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และดอกไม้ มาใส่ย่ามถวายพระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี

สาระ
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อประเพณีตักบาตรธูปเทียน เป็นประเพณีที่ควรแก่การส่งเสริมให้คงอยู่ การตักบาตรธูปเทียนให้สาระสำคัญดังนี้
๑. สะท้อนให้เห็นถึงความยึดมั่นและศรัทธาในการนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามควรรักษาประเพณีไว้สืบไป ชาวนครศรีธรรมราชจึงเตรียมมัดธูป ๓ ดอกและเทียน ๑ เล่มไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการตักบาตร แต่คนส่วนใหญ่จะใช้ธูปและเทียนมัดใหญ่ เพื่อให้พระสงฆ์มีธูปเทียนใช้ตลอดพรรษา และสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือไม้ขีดไฟ เป็นของเสริม เพื่อให้พระสงฆ์มีอุปกรณ์ครบ รวมทั้งดอกไม้สดชนิดต่าง ๆ
๒. เป็นการอบรมให้ลูกหลานที่ไปร่วมพิธีตักบาตรธูปเทียนได้มีความรู้ความเข้าใจในประเพณีท้องถิ่น และให้ความสุขใจจากบุญกุศลที่ได้ทำ



ประเพณีลากพระ




     


ช่วงเวลา : 
          วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ :
         เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้า ประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
พิธีกรรม :
        
 ๑. การแต่งนมพระ
         นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค 
มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลาย
ระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อย
ระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจง
ดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
         
 ๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
          พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระแล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไป
ดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  ชาวบ้าน จะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญ
พระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์
เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
         
 ๓. การลากพระ
          ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ  คนลาก
จะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง  บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย : 
         อี้สาระพา เฮโล เฮโล
         ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
         ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
 
  http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น