ลักษณะ ที่ อยู่ อาศัย ภาค ใต้

ที่อยู่อาศัย


    จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าว 
และทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน คนไทยภาคใต้จะมีคติในการตั้งบ้านเรือน 
เรือนไทยภาคใต้  ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ เรือนก่ออิฐฉาบปูน โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุไต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้
เรือนไทยภาคใต้ แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ แถบชายทะเลด้านใน คือ ชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย และแถบชายทะเลด้านนอก คือ ชายทะเลฝั่งตะวันตกซึ่งติดกับทะเลอันดามัน โดยที่พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากกว่าฝั่งตะวันตก บ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก มักเป็นเรือนหลังคาหน้าจั่วทรงสูงแบบเรือนไทยภาคกลาง แต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา

ลักษณะทั่วไปของเรือนไทยในภาคใต้

เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น
ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา

                    
เรือนไทยภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
      เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน
เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น

       
เรือนเครื่องผูก
      หลังจากชวนไปปลูกเฮือนไทยทางเหนือกันมาแล้ว คราวนี้จะชวนคนที่รักแสงแดด เกลียวคลื่นสีคราม ชอบอากาศชุ่มชื้นอุดมไปด้วยฝน ไปปลูกเรือนไทยทางใต้กันบ้างนะคะ

ถ้าอยากปลูกกันแบบเรื่อนไทยง่ายๆดั้งเดิม เรือนไทยทางใต้ก็คล้ายกับทางเหนือ คือแบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่ เรือนเครื่องผูก กับ เรือนเครื่องสับ ค่ะ

เรือนเครื่องผูก มักเป็นกระท่อมแบบง่ายๆ ใช้ไม่ไผ่เป็นโครงสร้างแล้วผูกด้วยหวาย หลังคามุงจากหรือแฝก ไม่นิยมกั้นฝาห้อง แต่จะใช้ม่านกั้นห้องนอนแทนให้เป็นสัดส่วน ไม่มีรั้ว ปลูกติดๆกันเป็นหมู่บ้าน เพื่อจะได้ช่วยเหลือกันใกล้ชิด ว่ากันว่าเพราะพ่อบ้านเป็น 'ชาวเล' ต้องออกทะเลเป็นประจำทีละหลายๆวัน ปล่อยแม่บ้านและลูกๆเอาไว้ทางบ้านตามลำพัง ก็ต้องอาศัยความใกล้ชิดของชุมชน เพื่อดูแลและช่วยเหลือหากมีภัยต่างๆให้ ดีกว่าจะปลูกบ้านอยู่โดดเดี่ยวห่างจากผู้อื่น
                  
                    
เรือนเครื่องสับ
        ส่วนเรือนเครื่องสับ เป็นบ้านสำหรับคนฐานะดีขึ้นกว่าแบบแรก การสร้างซับซ้อนกว่าเรือนเครื่องผูก ปลูกด้วยไม้เคี่ยมหรือไม้หลุมพอ เพราะไม้สักอย่างทางภาคเหนือหายากแทบไม่มีเลย ยกใต้ถุนสูงพอคนลอดได้ ที่แตกต่างจากภาคอื่นคือไม่ขุดหลุมลงเสาเอก แต่จะใช้แท่งหินหรือคอนดรีตฝังลงในดิน ให้พื้นบนโผล่ขึ้นเหนือดินแล้ววางเสาบ้านลงบนแท่น แล้วใช้ไม้เนื้อแข็งอย่างไม้ตง ร้อยทะลุจากโคนเสาหัวบ้านไปจนถึงโคนเสาท้ายบ้านเพื่อยึดไว้ให้มั่นคง ตัวเรือนมีความยาวเป็นสองช่วงของความกว้าง มีพื้นระเบียงลดต่ำกว่าตัวเรือนใหญ่ และมีนอกชานลดต่ำกว่าพื้นระเบียงอีกที หลังคาจั่วตั้งโค้งแอ่นติดไม้แผ่นปั้นลมแบบหางปลา มุงกระเบื้อง และมีกันสาดยื่นออกไปกว้างคลุมสามด้าน สมกับอยู่ในสถานที่ฝนชุก ระเบียงก็มีชายคาคลุมไว้เช่นกัน แล้วแยกเรือนครัวออกไปต่างหาก เรือนพวกนี้จะสร้างเพิ่มเป็นเรือนหมู่ก็ได้ค่ะ ประมาณ ๓-๔ เรือน สำหรับลูกหลานเมื่อแต่งงานแยกออกไปอยู่อีกเรือนหนึ่ง 
       
 เรือนก่ออิฐฉาบปูน
        โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้

  หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ



         


       บ้านหลังคาจั่ว 
ป็นรูปจั่วตรงมุงด้วยกระเบื้อง ประดับเชิงชายและช่องลมด้วยไม้ฉลุ ตัวเรือนใต้ถุนยกสูง มีระเบียงและนอกชาน 
         


บ้านหลังคาปั้นหยา

   เป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง รูปทรงลาดเอียงสี่ด้านไม่มีจั่ว ตรงรอยตัด

เหลี่ยม
หลังคาครอบด้วยปูนกันฝนรั่วลงบ้าน เป็นแบบหลังคาที่แข็งแรง ต้านลมพายุได้ดีค่ะ พบ
มากแถวสงขลา
ฝรั่งเรียกทรงหลังคาแบบนี้ว่า "ทรงฮิปส์" 
  
 บ้านหลังคามนิลา  
หรือเรียกว่าแบบ บรานอร์ เป็นบ้านหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยา คือส่วนหน้าจั่วอยู่ข้างบน
สุดแต่สร้างค่อนข้าง
เตี้ย ด้านล่างลาดเอียงลงมา รับกับหลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอด เป็นเรือนใต้ถุน
สูงเหมือนสองแบบแรกแถมท้ายด้วยความเชื่อของชาวใต้ในการปลูกบ้าน ถ้าใครสนใจจะ
ปลูกเรือนจริงๆ ลอง
เชื่อไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ หลายข้อก็มีเหตุผลสมควรในตัว หลายข้อก็คล้ายๆภาคกลาง
นี่เอง แสดงว่าเป็น
ความเชื่อที่แพร่หลายกันทั่วไป

- ห้ามปลูกเรือนบนจอมปลวก

- ห้ามปลูกคร่อมตอ

- ห้ามสร้างบนทางสัญจร

- เลือกพื้นดินที่ดินสีออกแดง ดูสะอาด กลิ่นไม่เหม็นสกปรก

- อย่าเลือกปลูกบนดินเลนสีดำ หรือที่เฉอะแฉะ

- ปลูกบ้านเดือน ๑๐ จะดี ปลูกเดือน ๔ ไม่ด

- บันไดบ้านหันไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกถึงจะดี

- จำนวนขั้นบันได ถือเลขคี่เป็นหลัก อย่าเป็นเลขคู่

- ห้ามปลูกเรือนคร่อมคู คลอง หรือแอ่งน้ำ


http://www.kiatnakin.co.th/knowledge-detail.php?id=12


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น