ภาคใต้ การแต่งกาย

          

การแต่งกายภาคใต้

             ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้





การแต่งกายประจำภาคใต้

        ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย 

ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม  การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย  ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา  และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรังการแต่งกายของชาวใต้


              วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่คนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงรุ่นปัจจุบันก็ได้มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น วัฒนธรรมก็มีหลากหลายประเภทแต่ละท้องที่ก็จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็มีบางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน เช่น วัฒนธรรมการไหว้ที่คนไทยทุกภาคทุกคนต้องมีการไหว้เหมือนกัน เพราะเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยไปแล้ว วัฒนธรรม วันนี้จะมาพูดถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของคนภาคใต้ ว่ามีการแต่งกายเป็นแบบใดมีลักษณะที่แตกต่างกับภาคอื่นอย่างไรบ้าง  
          การแต่งกายของคนภาคใต้นั้นเป็นการแต่งกายที่ไม่เหมือนกับภาคอื่น ในด้านการแต่งกายชาวภาคใต้ใช้ผ้าหลายรูปแบบ ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเขียนลายเทียน ผ้ามัด-ย้อม แต่ผ้าที่มีชื่อที่สุดของภาคใต้กลับเป็นผ้ายกที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่ชาวบ้านปักษ์ใต้ทั่วไปแบบเดิมนิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลายเป็นความนิยมในช่วงหลัง จากการรับอิทธิพลของผ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งที่มีความคล้ายกับกับผ้าข้าวม้าของทางภาคอีสาน ผู้ชายส่วนใหญ่จะนิยมนุ่งผ้าโสร่งแต่ผู้หญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก แต่ในปัจจุบันคนใต้ส่วนใหญ่ก็จะนุ่งเสื้อผ้าตามแฟชั่นที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป แต่ผ้าที่มีชื่อเสียงของทางภาคใต้ก็จะมีด้วยกัน คือ ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช ผ้าทอเกาะยอ ผ้าทอนาหมื่นสี ผ้าทอพุมเรียง ผ้าหางกระรอก ผ้าปาเต๊ะผ้าทอปัตตานี เป็นต้น

     การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

     1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่

     2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

     3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี



  


     http://www.thaigoodview.com/node/48432

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น